Nagaland - It offers rich incomparable traditional and cultural heritage. The Distinctive character and identify of each tribe in terms of Tradition, custom, language and dresses is clearly discernible to the visitors.

Thursday, 4 December 2008

Nagaland - Land of Tribe


Nagaland is bound by Arunachal Pradesh and parts of Assam in the North; Manipur in the South; Myanmar (Burma) on the East and Assam in the West. It offers rich incomparable traditional and cultural heritage. The Distinctive character and identify of each tribe in terms of Tradition, custom, language and dresses is clearly discernible to the visitors.

Nagaland is rich in flora and fauna. About one-sixth of Nagaland is under the cover of tropical and sub-tropical evergreen forests - including palms, bamboo and rattan as well as timber and mahogany forests. If you are looking for a quiet getaway, from the hustle and bustle of city life, Nagaland provides the right ambience; as life here is laidback and slow - providing a tension free life.

Weather
Nagaland is blessed with a salubrious climate throughout the year. The temperature from June to September is between 16 to 31 deg Celsius and from October to February it is between 4 & 24 degree Celsius.

For the adventurous and the intrepid, Nagaland is an ideal place for trekking, rock climbing, jungle camping and offers limitless exploration possibilities in its lush and verdant sub-tropical rain forests which are also a treasure trove of a plethora of medicinal plants

Monday, 1 December 2008

Places to visit in Nagaland


Places of Tourist Interest
Dimapur : Dimapur, 74 km away from Kohima is the commercial town of Nagaland. The places to visit in Dimapur are the Ruins of Medieval Kachari Kingdom, North East Zone Cultural Centre Museum, Chumukedima and Intangki Wildlife Sanctuary.

Kohima : Kohima is a beautiful town known to the world for halting the Japanese forces during the Second World War. In the middle of the town lies The War Cemetery with beautiful epitaphs engraved on each graves of officers and men who laid down their lives in the battle of Kohima. Apart from war memorials, one can also visit Museum, Cathedral and Kohima village.

Mokokchung : Mokokchung is 162 km from Kohima via Wokha, 70 km from Zunheboto, 115 km from Tuensang, 102 km from Amguri (Assam) and 103 km from Mariani in Assam, Mokokchung is home of the Ao tribes. The main festivals of the Aos are Moatsu and Tsungrem Mong celebrated during the first week of May and August respectively. Places of tourists interests are Longkhum, Ungma, Langpangkong Cave, Molung, Chuchuyimlang and Peren.

Mon : Home of the Konyak tribe of Nagaland, Mon is 357 km from Kohima via Dimapur and 280 km from Dimapur, 275 km from Kohima via Mokokchung, Tamlu and Wakching. Konyaks are known for their skilled craftsmanship especially in woodcarvings, making of daos, guns, gunpowder, headbrushes, headgears, necklaces etc. The most colourful festival of the Konyaks is the Aoling festival celebrated in the first week of April. Places to see in and around are Shangnyu Village, Longwa Village, Chui Village, Veda peak and Naganimora.

Tuensang : Tuensang is about 269 km from Kohima via Wohkha and Mokokchung and 235 km via Zunheboto. Six different tribes of the state namely the Changs, Yimchungers, Khiamniungans, Sangtams, Phoms and Semas, inhabit the district. Having inhabited by different tribes, the district is rich in cultural heritage and their traditional dresses are very colourful. Places of tourists interests are Kiphere and Longtrok.

Zunheboto : Zunheboto is 150 km from Kohima via Chazouba and 70 km from Mokokchung. The district is home to the Sema tribe of Nagaland. The Semas are a martial tribe and are known for their fighting skills. Their main festival is Tuluni, which is celebrated during the second week of July. Satoi Range and Ghosu Bird Sanctuary are attraction of Zunheboto.

Friday, 28 November 2008

Festivals & Event in Nagaland


Festivals & Events
Nagaland is a land of festivals. Almost all the tribes have their own distinct seasonal festivals which they celebrate with a pageantry of colour and a feast of music. Most of these festivals revolve round agriculture, it being the main-stay of Naga society. Over 85% population of Nagaland is directly dependent on agriculture and lives in a thousand and odd villages situated on high hill tops or slopes overlooking verdant valleys humming with murmuring streams. All the tribes regard their festivals sacrosanct and participation in celebration is compulsory. Although some religious and spiritual sentiments are inter woven into secular rites and rituals, the pre- dominant theme of the festivals is offering of prayers to a Supreme Being having different names in different Naga dialects. At these festivals, the spirit of Gods are propitiated with sacrifices by the Village Shaman for a good harvest either before the sowing or on the eve of harvest. The dance and songs are a part and parcel of all their festivities. Most of their dances are performed with a robust rythm.


When to Go
The best time to visit Nagaland is between October to May.


Interesting Fact
Nagas are excellent woodcarvers. Making using of simple rudimentary tools and implements such as the local dao, hand drill and chisel, skilled craftsmen produce great works of art that local adorn village gates and house posts as well as objects of utility like the common wooden dish.

Tuesday, 25 November 2008

Festivals & Events in India


Landmark Destinations:
Taj Mahal - Agra, Uttar Pradesh
Historical Ruins - Hampi, Karnataka
Mysore Palace - Mysore, Karnataka
The Mall - Victorian heritage - Shimla, Himachal Pradesh
Ajanta Caves - Near Aurangabad / Jalgaon
Crawford Market - Kalbadevi, Mumbai
Gateway of India - Colaba, Mumbai
Humayun's Tomb - Delhi
Jaisalmer Fort - Jaisalmer, Rajasthan
Kerala Backwaters - Kerala
Khajuraho temples - Madhya Pradesh

Festivals & Events
Indian celebrate a huge number of festivals, most of them highly spectular and filled with colours. Therefore, it is a huge task to list all of them over here. However, given below is the list of some prominent festivals & events of India.

Republic Day - is celebrated on 26th January, every year. This is the day when India adopted the constitution and became a republic.

Holi - the festival of colour is celebrated some time during the month of February/March It marks the beginning of spring and is one of the most colourful Hindu festivals in the north of India. People throw coloured water and powder to each other.

Muharram - the 10-day Shi'ite festival, also celebrated in February/March, commemorates the martyrdom of the Prophet Mohammed's grandson. It's marked by a grand parade in which participants scourge themselves with whips in religious fervour.

Kumbh Mela - this huge festival commemorates an ancient battle between suras (gods) and asuras (demons) for a pitcher (kumbh) containing the nectar of immortality. During the fight for possession, four drops of nectar fell from the pitcher and landed in Allahabad, Haridwar, Nasik and Ujjain. The mela is held every three years rotating through these four cities.

Ram Navami - is birthday celebration of Lord Rama and involves religious observances.

Independence Day - Indians on August 15 every year celebrate the birth of independent India.

Rath Yatra - the procession in Puri, every year in June/July involves the temple car of Lord Jagannath making its annual journey, pulled by thousands of eager devotees.

Ganesh Chaturthi - celebrated widely, but with particular enthusiasm in Mumbai and Pune is dedicated to the popular elephant-headed god, Ganesh. Festivities go on for 10 days during which the idol of Ganesha (or Ganpati) is worshipped at homes and every street corner. On the tenth day (or earlier in some cases) it is ceremonially immersed in the sea or a lake after being taken out in a lavish procession.

Gandhi Jayanti - October 2, birthday of Mahatma Gandhi is a National holiday, every year.

Dussehra & Durga Puja - September/October is the time to witness the Dussehra and Durga Puja Festivals, which are celebrated almost all over in India, but is perhaps at its most spectacular in West Bengal, Kullu, Mysore, and Ahmedabad.

Diwali - the festival of lights is the happiest festival of the Hindu calendar and is celebrated over five days in October/November. Sweets, oil lamps and firecrackers all play a major part in this celebration in honour of a number of gods. Fall some time in October/November every year.


When to Go The best time to visit India is during October to first week of March. This is the period when climate is relatively cooler as compared to other part of the year.

Sunday, 23 November 2008

Wednesday, 5 November 2008

Incredible India


The history of India dates back to 5000 years back when India's first major civilisation flourished along the Indus River valley. The Indus civilization at one point of time extended nearly a million square kilometres across the Indus river valley and existed at the same period as the ancient civilizations of Egypt and Sumer but far outlasted them. Aryans came around 1500 BC and were mainly responsible for collapse of Indus Valley civilisation. The Four Vedas or the important books of Hinduism/India were compiled in this period.

The modern India got its independence from Britain in 1947 after a long struggle led mostly by Mahatma Gandhi. However, the country was divided into two countries, in the process of becoming independent. Post independence, India has made huge progress inspite of great problems, and has developed its industry and its agriculture, and has maintained a system of government which makes it the largest democracy in the world.

In a country as diverse and complex as India, it is natural to find that people here reflect diverse culture, traditions and values and the rich glories of the past, habits and food that will always remain truly Indian. Ethnically Indians speak different languages, follow different religions, eat the most diverse varieties of food all of which add to the rich Indian culture. Vibrant Indian cities are home to world-renowned temples and palaces, while the tranquil coast offers the perfect recipe for rest, recuperation and a sense of peace. A lot of festivals like Diwali, Holi, Id, Christmas, Mahaveer Jayanthi are all celebrated by sharing sweets and pleasantries with family, neighbours and friends.
Weather
India experiences at least three seasons a year, Summer, Wet (or "Monsoon") and Winter, each of which can vary in duration from north to south.

The heat starts to build up on India's northern plains from around February, and gradually summer hots up by April or May and is at its peak in June. In central India temperatures of 45°C and above are commonplace. Even South India also becomes uncomfortable during summer season.

The first signs of the monsoon (rainy season) are visible in some areas of India as early as in the early part of May. It rains heavily when the monsoon finally arrives around 1 June in the extreme south and later sweeping north to cover the whole country by early July. The season as well as the phenomenon that causes it is called the monsoon. There are two of them, the Southwest and the Northeast, both named after the directions the winds come from.

Around October the climate starts becoming cooler and most of the northern cities become crisp at night in December. In the far south, the temperatures are comfortably warm rather than hot, since it never gets cool there. November to January is the winter season. There is also a brief spring in February and March, especially in North India.

Saturday, 1 November 2008

Sikkim...I love you (3) to Dajeeling ดาจีลิ่ง

เช้านี้รถมารับหน้าโรงแรมเพื่อไป Rumtek ทางเข้ามีทหารและเครื่องตรวจอาวุธ เนื่องจากเป็นวัดหลวงและเป็นที่เกิดขององค์ดาไลลามะองค์ใหม่อีกด้วย แต่ตอนนี้ลี้ภัยไปอยู่ที่เนปาล อารามหลังใหญ่ตรงกลางมีการสวดมนต์อยู่ รอบๆอารามมีการวาดภาพด้วยสีสันสดใส อาคารรอบๆ เป็นที่พักของบรรดาเหล่าลามะแบ่งเป็นห้องๆ เดินออกไปด้านข้างตามป้ายชี้ว่าไป Golden stupa เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดนี้และของศาสนาพุทธ เพราะข้างในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญชิ้นหนึ่ง เดินหลงทางจนไปเจอลามะหนุ่ม นามว่า Sonam (แปลว่า Lucky ในภาษาสิกขิมหรือภูฐาน) กุลีกุจอนำทางและหากุญแจมาเปิดประตู แถมยังอยู่คอยเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟังอีกด้วย ที่นี่จะไม่พรมน้ำมนต์แต่จะใช้การเทน้ำมนต์ใส่มือแล้วให้ยกดื่มเลย Sonam อยู่กับพวกเราพักใหญ่แล้วขอตัวไปเรียนเนื่องจากสายมากแล้ว ขากลับพวกเราแวะถ่ายรูปกับระฆังหมุนที่รอให้นักเดินทางหมุนเพื่อความโชคดี

กลับมาถึง Gangtok หาข้าวเที่ยงกินก่อนโบกมืออำลาเมืองแห่งขุนเขาและกล้วยไม้ย้อนกลับมาทางเดิมแต่มีแยกไป Dajeeling แถวๆ เมือง Rangpo ต้องกลับมาเจอนิสัยขี้โกงของแขกอีกแล้ว คนขับจะให้เปลี่ยนรถไปขึ้นอีกคันร่วมกับคนอื่น ทั้งๆ ที่พวกเราเหมารถคันนี้มา พวกเราไม่ยอมลงจากรถจนคนขับต้องยอมขับรถต่อไป สองข้างทางที่ผ่านเริ่มเปลี่ยนเป็นไร่ชามากขึ้น ผ่านไร่ชาชื่อดัง Tami tea garden มาลงรถที่ท่ารถใน Dajeeling ตอน 6 โมงเย็น อากาศที่นี่หนาวเย็นไม่แพ้เมือง Gangtok เลย เมืองนี้มีชื่อเสียงมากในเรื่องของชา Tea อันดับหนึ่งของโลกเลยทีเดียว อีกสิ่งหนึ่งที่ดังไม่แพ้กันเห็นจะเป็น Toy train รถไฟคันเล็กที่หัวชนเพดาน เป็นรถไฟสายมรดกของโลกที่ชาวอังกฤษสร้างไว้ตอนตั้งเมืองแห่งนี้เมื่อครั้งอินเดียยังเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอยู่ Toy train จะแล่นผ่านตัวเมือง บ้านเรือน ไร่ชา และภูเขา ใช้เวลา 3-4 ชม. พวกเราตัดสินใจเดินหาที่พักที่ไม่ไกลจากท่ารถมากนัก Capital Hotel เจ้าของใจดีมากลดราคาห้องให้พวกเราตั้ง 40% แถมห้องใหญ่และใหม่อีกด้วย หลังจากเก็บของแล้วพวกเราไม่มีคำว่าเหน็ดเหนื่อยเลยออกไปเดินหาข้าวเย็นกิน เดินเลยไปหลายร้านเพราะส่วนใหญ่เป็นร้าน Vegetarian ทั้งหมด สมาชิกส่วนใหญ่ขอเลือกที่มีเนื้อดีกว่า มาหยุดที่หน้าร้านอาหารแบบทิเบต แต่งร้านได้หรูแต่ราคาธรรมดามาก กลางคืนที่นี่จะคึกคักเพราะมีตลาดนัดคนเดินตลอดถนนเส้นนี้ สินค้าจะเป็นของ Nepal เกือบทั้งหมดคงเพราะใกล้กับชายแดนนั่นเองตื่นกันตอนตี 3 กว่า เพราะนัดกันว่าจะไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ Tiger Hill รถมารับตอนตี 4 ใช้เวลากว่า 1 ชม. จึงถึง ทั้งๆ ที่ระยะทางไม่ได้ไกลมากแต่รถทุกคันมุ่งไปทิศทางเดียวกันหมด บนยอด Tiger hill จะมีอาคารหลังเดียวสามชั้นเป็นที่บังลมหนาว และแบ่งราคาตามความสูงโดยชั้นล่างจะถูกที่สุด หางบัตรจะและชาร้อนได้ด้วย วันนี้พระอาทิตย์ขึ้นตอน 05:25 มองแล้วไม่สวยมากนัก ใช้เวลาไม่นานผู้คนก็เริ่มบางตาลงแสงแดดเริ่มแรง แต่หมอกก็ยังไม่ลดน้อยลง ทำให้มองเห็นยอดเขา Everest อันดับหนึ่งของโลกไม่ชัดเจน ขากลับลงมารถทุกคันจะแวะวัด SAMTEN CHOLING BUDDHIST พระประธานถูกประดับด้วยผ้าสีสันฉูดฉาด เดินเลยเข้าห้องครัวเห็นลามะน้อยกำลังเตรียมอาหารกันอยู่ เลยไม่อยากรบกวน รถมาติดก่อนถึง Victory park แห่งสุดท้ายที่จะแวะกันพวกเราตัดสินใจให้ขับผ่านไปเลยดีกว่า กลับมากินข้าวเช้าแล้วออกไปเดินเล่น หลังมื้อเที่ยงพวกเราตกลงจะไปสวนสัตว์กันเพราะบางคนอยากไปดู Red panda สมใจจึงกลับโรงแรมไม่ลืมนัดรถให้มารับไปไร่ชา Happy Valley พรุ่งนี้เช้าสังเกตว่ายามเช้าที่นี่จะสงบมากเพราะผู้คนจะไป Tiger hill กันหมดเหมือนที่พวกเราไปผจญมาเมื่อวานนี้ ถนนหนทางไม่มีทั้งรถและคนเลย


รถมารับตอน 8 โมงเช้า พวกเรามีเวลาแค่ 2 ชม. เท่านั้นเอง เพราะต้องกลับมาขึ้นรถกลับ Calcutta เดินผ่านไร่ชาลงไปที่โรงงานทำชา แอบขอยืมตะกร้าของคนงานที่กำลังจะออกไปเก็บใบชามาลองโพสต์ท่าถ่ายรูป เกือบ 11 โมงพวกเราสะพายเป้แบกของพะรุงพะรังมาขึ้นรถกลับไป Siriguri เพื่อต่อรถไป Culcutta ในตอนเย็นของวันเดียวกัน เมือง Dajeeling ยังคงส่งพวกเราด้วยไร่ชา ขากลับคนขับพาพวกเรามาอีกทาง ไม่เกินบ่าย 3 โมง พวกเราก็มาถึง Siriguri แล้ว อากาศเพิ่มขึ้นอีก 20 องศาทันที เหมือนหลายวันที่ผ่านมาเราผจญภัยในเมืองหิมะแล้วหลังจากนี้พวกเรากลับต้องมาอยู่ในทะเลทรายหรือไรเนี่ย รีบเก็บเสื้อหนาวแทบไม่ทัน ลงรถแล้วเดินแบกของเข้าไปท่ารถตีตั๋วรถพร้อมทั้งฝากของเป็นอันเรียบร้อย ยังมีเวลาอีกนานกว่ารถจะออก พวกเราตัดสินใจไปเดิน Hongkong market ตลาดใหญ่ในเมืองดีกว่าอยู่เฉยๆ เดินไปเดินมาเหมือนสำเพ็งบ้านเราเลย ท้องเริ่มหิวเลยมองหาร้านอาหารเห็นอยู่ฝั่งตรงข้าม มีไอศกรีมขายอยู่หน้าร้านด้วย ไม่ต้องเลือกแล้วพวกเราตัดสินใจทันที อาหารที่นี่รสจัดและอร่อยมาก คงเพราะพริกไทยดำที่ใส่จนพวกเราเดินหาร้านขายเพื่อซื้อกลับไทย ของหวานไม่พลาดอยู่แล้วไอศกรีมแรกในอินเดีย ขากลับพวกเราเจอปัญหาใหญ่เพราะเรียกรถสามล้อไม่ได้เลย คุยกันไม่รู้เรื่องจนมีคนที่พูดอังกฤษได้มาช่วยจึงได้กลับมาที่ท่ารถ ข้างๆท่ารถมีตลาดขายเสื้อผ้ามือ 1 และมือ 2 ดูๆ แล้วส่วนใหญ่ส่งมาจากไทย กว่ารถบัสจะออกก็ 2 ทุ่ม ขึ้นรถได้หลับเป็นตายเลย มาตื่นอีกทีก็ตอนที่รถมาจอดที่พักกลางทางที่เดิมนั่นแหละกลับมาเยือนเมืองแห่งความวุ่นวาย Calcutta อีกครั้งทั้งๆ ที่ใจไม่อยากจะมาเลย ยังคงร้อนเหมือนเดิม 8 โมงเช้า ก็รีดเหงื่อพวกเราได้เป็นถังแล้ว ตัดสินใจเดินหาโรงแรมหลบร้อนดีกว่า มาได้ห้องแอร์ค่อยยังชั่วหน่อยแม้ว่าราคาจะแพงไปนิด อาบน้ำพักผ่อนกันจนหลังข้าวเที่ยง จึงพากันเดินไป Victory Memorial ตัดสินใจผิดจริงๆ แม้ว่าไม่ไกลนักแต่อากาศร้อนก็บันทอนแรงกายและใจพวกเราจนแทบจะเดินไปไม่ถึง เดินผ่านร้านขายของข้างทาง กลุ่มคนจนที่มารอรับสิ่งของบริจาคเพราะวันนี้เป็นวันอาทิตย์ และร้านค้าใหญ่ๆ ปิดหมด เดินมาถึงจุดหมายจนได้ มองดูแล้วคล้ายพระที่นั่งอนันตสมาคมเพราะสร้างด้วยหินอ่อนเหมือนกัน ขากลับทนไม่ไหวขอเรียก Taxi กลับดีกว่า หลังกินข้าวเย็นเสร็จไม่วายโดนแขกจะโกงค่ารถลากอีกแล้ว แต่ไม่ยอมหรอกวันสุดท้ายแล้ว อำลาเมืองแห่งการหลอกลวงและแสนร้อนเหมือนอยู่ในนรก ด้วยรถ Taxi พาไปสนามบิน แต่คนขับก็ไม่ลืมที่จะแสดงนิสัยโกงอีกโดยขอเพิ่มอีก 50 รูปี หลังจากที่ผ่านมาหลายวันอย่าหวังจะได้เลย นี่สิสมแล้ว Calcutta

Tuesday, 1 January 2008

Sikkim ..I love you สิกขิม





พอบอกว่าจะเดินทางไป “สิกขิม (Sikkim)” ผมก็มักจะได้รับคำถามกลับมาทันทีว่า “มันอยู่ส่วนไหนของโลก” หรือไม่ก็ “มันอยู่ในประเทศอะไร” ไม่พ้นต้องมานั่งอธิบายตลอด 2 สัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มการเดินทางในครั้งนี้พร้อมพรรคพวกที่ร้องตามไปด้วยอีก 6 ชีวิต เมืองบนขุนเขาทางตอนเหนือของอินเดีย สิกขิมอยู่ในอินเดียทางตอนเหนือ ติดกับเนปาล ภูฐาน และทิเบต แต่ที่แน่ๆ ต้องไปลงเครื่องบินที่เมือง Kullkutta ของอินเดีย เมืองที่นักท่องเที่ยวไปเยือนแล้วไม่อยากกลับไปอีก พูดถึงเมืองกัลกัตตานี้ เป็นเมืองใหญ่ที่ขึ้นชื่อว่าไร้ระเบียบและสกปรกมากจนนักท่องเที่ยวบางคนไม่อยากจะเหยียบไปเลยทีเดียว แต่คราวนี้คงเลี่ยงไม่ได้ หลังจากลงเครื่องบินของสายการบินภูฐาน ที่ราคาถูกสุดแล้ว ผมไม่ลืมโบกมืออำลาแอร์สาวหน้าขาวใสที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยรอยยิ้มในชุดประจำชาติ เดินออกมาซื้อบัตรรถ TAXI ซึ่งนั่งได้ 4-5 คน ให้ไปส่งที่สถานีขนส่งรถบัส West Bengal Esparnet ใช้เวลาจริงๆ ไม่เกิน 1 ชม. ก็ถึง พวกเราเดินสะพายเป้ถามหารถแอร์ได้ความว่าวันนี้มีแต่รถธรรมดาแค่รอบเดียวด้วย กว่ารถจะออกก็ 18.30 น. มองดูนาฬิกาแล้วยังพอมีเวลาเหลืออีก 5-6 ชม. พวกเราตัดสินใจข้ามถนนเพื่อไปเดินเล่นแถวๆ ตลาด New market ถนนที่อินเดียข้ามยากมากเพราะไม่มีทางม้าลายหรือสะพานลอยให้เลย ถ้าใครใจไม่กล้าพอคงต้องใช้เวลานานแน่ๆ ดีที่พวกเราเป็นกลุ่มใหญ่ทำให้รถต้องหยุดให้ เมื่อข้ามมาแล้วก็มายืนหันซ้ายหันขวาอยู่สักพักเพราะไม่รู้จะเดินไปทางไหน จนพบฝรั่งสองคนเดินเป็นเหยื่อ มาให้สอบถามหาที่พัก เป็นฝรั่งที่ใจดีมากพาผมและเพื่อนๆไปส่งที่ปากซอยแล้วยังให้แผนที่ก่อนทั้งสองคนจะแยกเดินไปอีกทาง แบกเป้เข้าซอยมาสัก 20 เมตร ทางขวามือมีป้ายบอก Red hotel และเขียนว่า Backpack จึงลองเข้าไปสอบถามดู พี่แขกแกบอกว่า เต็มแล้ว แต่เสนอให้พวกเราฝากของและอาบน้ำได้ เขาเลยคิดทั้งหมดแค่ 200 รูปีเอง มากดเครื่องคิดเลขดูน่าจะคุ้มเลยไม่รีรอรีบวางของและขออาบน้ำให้สบายตัวก่อนออกไปหาอะไรกิน เพราะนี่ก็เกือบเที่ยงและอากาศร้อนมากๆ ห้องน้ำก็พอทนได้ พวกเราเดินหาอาหารมื้อแรกในอินเดียจนมาหยุดมองหน้าร้านชั้นใต้ดินไม่ไกลจากโรงแรมมากนัก เป็นห้องแอร์เห็นคนนั่งกินเยอะ ตามการคาดเดาน่าจะอร่อยแบบแขกๆ แต่พอเจอเมนูเข้าไปเกิดอาการงงครับเพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษแต่พวกเราเรียกไม่ถูก เลยลองสั่งมาดูอย่างละจาน แต่หลายคนก็ตัดสินใจเลือก Omelet และข้าวผัดดีกว่า เพราะกลัวกินไม่ได้และท้องอาจจะเสียตั้งแต่วันแรกได้ Chicken Piyani คือข้าวหมกไก่แบบบ้านเราแต่รสชาติอร่อยกว่า ผมชอบมากจานนี้ ในกัลกัตตาไม่ต้องถามหาน้ำแข็งเพราะพวกเราไม่พบเห็น จะมีก็ตามภัตตาคารใหญ่ๆ เท่านั้น ร้านที่นี่ไม่มีแก้วน้ำไว้ให้มีแต่เหยือกใส่น้ำเปล่าเห็นคนอินเดียยกเทแล้วเอาปากไปลองกิน!!!

แบบนี้ก็ดีไม่ต้องล้างแก้วภารกิจแรกพวกเราต้องแลกเงินก่อนเนื่องจากเตรียมเงิน RS มาน้อย ในตลาดมีที่ให้แลกมากและได้ Rate ดีกว่าแลกในไทยเสียอีก พวกเราคงจะเนื้อหอมเพราะเวลาที่เดินไปไหนมีแต่แขกเดินตามตลอด ถ้าเจอไม่ต้องแปลกใจเพราะเขาจะคอยเชียร์ลูกค้าให้เข้าร้าน ถ้าใครไม่ชอบก็คงจะเลี่ยงไม่ได้เพราะมีทุกที่ ร้านค้าส่วนใหญ่จะขายเสื้อผ้า ผ้า Saree กระเป๋า รองเท้า ตามทางด้านนอกริมถนนมีขายผลไม้ให้เห็นบ้างแต่ก็มีไม่กี่ชนิดเท่านั้น ขายเหมือนๆ กันหมด เช่น มะม่วง มะละกอ กล้วย และส้ม ราคาก็ไม่ต่างจากบ้านเรานัก แต่รสชาติไม่อร่อยเลย ขากลับโรงแรมผมหันมาเห็นพ่อค้าไอศกรีม (หรือ Kulfa) ฉีกยิ้มหวานให้ อดใจไม่ไหว แหม..รสมะม่วงเสียด้วย พวกเราซื้อของไม่กี่อย่างเพราะขากลับพวกเราก็ต้องมานอนที่นี่อีก 1 คืนก่อนขึ้นเครื่องบินกลับ แต่กลัวว่าวันกลับจะไม่มีเวลาซื้อและตลาดที่นี่จะปิดเกือบหมดในวันอาทิตย์ มีรถที่ใช้คนลากผ่านไปผ่านมาเหมือนย้อนยุดไปสัก 20 ปี ก่อนได้ ผมสังเกตเห็นผู้หญิงแขกใส่ชุดยาวสีสันสดใสมาก ร้านอาหารริมถนนก็มีแต่ไม่เยอะมากนักส่วนใหญ่จะขาย Rolls&Choumien (หมี่ผัด) เหมือนกันหมด น่าจะเป็นอาหารยอดฮิต คิดในใจว่าวันหลังค่อยลองแล้วกัน ที่พบเห็นมากก็คงจะเป็นคนขัดรองเท้าก็มีให้เห็นทุก 20 ก้าวเลยทีเดียว หลังจากที่ได้สัมผัสชีวิตของชาวอินเดียสักพักใหญ่พวกเราก็อยากรู้ว่าคนอินเดียไม่รำคาญบ้างหรือเพราะพวกเราได้ยินเสียงแตรรถดังตลอดเวลา และต่อเนื่อง จนแสบแก้วหูไปหมด อีกสิ่งที่มีให้เห็นน่าจะเรียกว่าของคู่เมือง Kulkutta ทีเดียว ก็คือ ฝูงกา ที่นับจำนวนไม่ได้และตัวใหญ่มาก บินโฉมหัวผ่านไปมา กลับมาพักที่โรงแรมเกือบสี่โมงเย็นแล้ว อาบน้ำอีกรอบและไม่ลืมที่จะแบ่งของฝากไว้ที่ Locker ด้วยเสียค่าฝากแค่ 5 RS/วัน เอง วันกลับค่อยมาเอาไม่ต้องแบกไปพวกเรากลับมาที่ท่ารถอีกครั้งตอน 18.15 น. เดินตามหารถเสียเหนื่อยเลย แต่กว่ารถจะออกจริงก็ 19.30 น. เหงื่อไหลอาบสองแก้มอีกครั้ง เพราะแม้ไม่มีแสงแดดแล้วอุณหภูมิก็ไม่ได้ลดลงเลยยังคงมากกว่า 35 องศา ต้องนั่งทนหลับตานอนทั้งเหงื่อยังดีที่รถไม่แน่นเหมือนบ้านเรา บางคนควักแป้งเย็นออกมาทาตัวช่วยได้มากเลยทีเดียว หลังเที่ยงคืนรถมาจอดที่หน้าร้านขนมแห่งหนึ่งเห็นติดป้ายไว้ว่า Sweet ขนมทั้งร้านหน้าตาน่ากิน ลองสั่งมากินดู โห..หวานมากทำจากน้ำตาลและไข่ล้วนๆ เลย กลับขึ้นรถตอนนี้อากาศเริ่มสบายแล้ว จนผมเผลอหลับไปอีกครั้งเพราะเหนื่อยและเพลีย มาตื่นเอาเมื่อแดดส่องจ้าแล้ว แต่เวลายังไม่เจ็ดโมงเลย มารู้ตอนหลังว่าที่นี่จะสว่างเร็วและมืดช้า ทำให้กลางวันจะยาวกว่าปกติ สองข้างทาง มีนาข้าวสลับกับไร่ชาให้เห็น แล้วพวกเราก็มาถึงท่ารถเมือง Siriguri ตอน 08.10 น. เดินหาอาหารเช้าก่อนทำอย่างอื่น ร้านอาหารมีไม่มากจำต้องกิน Roti กับ ซุบถั่ว เสริฟด้วยถาดหลุม พวกเรามาเสียรู้กลโกงแขกครั้งแรกก็ตอนติดต่อรถ Jeep ไป Gangtok จ่ายในราคาเหมาทั้งคัน (จริงๆ นั่งได้ 10 คน ) แต่คนขับยังแวะรับคนขึ้นมาอีก 1 คน ออกจาก Siriguri ตอน 9 โมงกว่าแล้ว พี่แกมาจอดอีกทีตรงด่านตรวจก่อนเข้าเขต Sikkim ใต้ซุ้มเขียนว่า “Welcome to Sikkim” ถึงตรงนี้นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องลงไปตรวจใบอนุญาตขอเข้า Sikkim ซึ่งพวกเราได้ทำมาตั้งแต่เมืองไทยแล้วพอผ่านด่านมาแล้ว รถจะวิ่งเลียบแม่น้ำ Testa ไปตลอด มีกล้วยไม้เกาะอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่ออกดอกให้ดูตลอดทาง แม้ว่าจะกลางวันแต่อากาศก็ไม่ร้อนเหมือนเมื่อวานคงเพราะเริ่มขึ้นที่สูงแล้ว ผมสังเกตได้จากทางที่เริ่มชันขึ้นเรื่อยๆหลายชั่วโมงผ่านไป มองเห็นบ้านเรือนแบบตึกสูงหลายชั้นสร้างอยู่ตามริมเขาและบนสันเขา

ยิ่งเข้าใกล้ Gangtok ที่เป็นเมืองหลวงของสิกขิมเท่าไร บ้านเรือนก็ใหญ่โตขึ้นและหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ รถมาจอดส่งเราที่ท่ารถ ที่คิดและวาดภาพไว้เปลี่ยนไปหมดเพราะผู้คนมากมายบ้านเรือนก็เยอะ ไม่ใช่เมืองเล็กๆเสียแล้วสิ พวกเราเริ่มต้นที่สำนักงานท่องเที่ยวที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เจ้าหน้าที่แนะนำ Agency tour ให้และมอบแผนที่พร้อม CD แก่พวกเรา พอเดินไปคุยโปรแกรมและต่อรองราคา จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงเดินหาที่พัก ตอนนั้นก็เกือบบ่ายสามโมงแล้ว ที่พักไม่ห่างจากบริษัททัวร์มากนักแต่มีน้ำอุ่นราคา 350 RS + Service แล้ว ที่อินเดียเราจะต้องเสียค่า Service อีก 10% ด้วย วันนี้คงจะเดินเล่นเบาๆ ก่อน กลางแผนที่เพื่อไปดู Flower show ซึ่งเป็นเทศกาลในช่วงนี้ของทุกปี เสียค่าเข้าชมคนละ 5 RS ภายในจัดแสดงกล้วยไม้หลายชนิด กลับลงมาผ่านตลาดสด ถนนที่นี่จะค่อนข้างชัน ไม่ลืมแวะซื้อผลไม้เป็นเสบียงไว้กิน คนขายหยิบตาชั่งแขวนถ่วงน้ำหนักด้วยก้อนน้ำหนักแบบเก่ามาชั่งส้มที่พวกเราซื้ออย่างขะมักเขม้น เดินต่ออีกสักนิดเห็นคนมุงหน้าร้านอาหารร้านหนึ่งข้างตลาดป้ายติดไว้ว่า Fast Food Momo หรือเกี๊ยว โมโมเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของที่นี่ถ้ามาแล้วต้องหาโอกาสลองชิมให้ได้ อร่อยมากๆ มีหลายไส้ด้วยกัน ไม่ว่าจะไก่ หมู ผัก ส่วนใหญ่จะพบขายคู่กับ Choumien หรือหมี่เหลืองที่เสริฟด้วยกระทงจากใบไม้ พวกเรามาหลายคนจึงต้องยืนกินเพราะเก้าอี้นี่งไม่พอ แต่ก็สนุกดี ถนนหน้า Tourism Info. ถูกปิดแล้ว เปลี่ยนเป็นถนนสาย Shopping คนที่นี่และนักท่องเที่ยวออกมาเดินกันมากมาย ร้านค้าเปิดไฟสว่างไสว วันนี้ลองเดินดูไปก่อนจนผ่านหน้าร้าน Pizza จึงแวะเข้าไปพักตื่นแต่เช้า เช้าแรกของเมืองที่สูงกว่า 3000 เมตรเพราะนัดรถมารับตอน 05.30 น. เสียงคนขับเร่งให้รีบไปเพราะเดี๋ยวจะไม่ทันดูพระอาทิตย์ขึ้น คนขับมาจอดรถที่แรกหนึ่งใน Three point view เดินขึ้นบันไดของ Tashi view point แดดเริ่มมีให้เห็นแล้ว มองเห็นภูเขาหิมะอยู่เบื้องหน้า ยอดสูงที่สุดเป็น Khangchendzonga ยอดเขาที่สูงอันดับ 3 ของโลก ถัดมาแวะ Ganesh Tok จุดนี้จะมองเห็นเมือง Gangtok ได้ชัดเจน สุดท้ายมาแวะ Hanuman tok ของฮินดู บูชาหนุมาน มองเห็นยอด Khangchendzonga ได้เหมือนกัน (คำว่า Tok มีความหมายว่ายอดเขา) ที่นี่จำเป็นต้องถอดรองเท้าเดินเข้าไป มีทหารเฝ้าใจดีแจกน้ำตาลเม็ดขาวๆ มาให้กินน่าจะเป็นของจากการทำพิธี เพราะเห็นวางใส่พานอยู่ กลับมาที่โรงแรมล้างหน้าแปรงฟันเพราะรีบไปจนลืม หลัง 10 โมง ไปพบ Baichung เจ้าของทัวร์เพื่อขึ้นรถไป Tsomgo lake ผู้คนตอนกลางวันไม่พลุกพล่านเหมือนเมื่อคืน ขึ้น Jeep หรือ Max อีกแล้ว คราวนี้มีไกด์ไปด้วยชื่อ Suman lama ชาวเนปาล ท่าทางตลกๆ ดี ถึงตรง Tashi view แล้วแยกไปอีกทางผ่านด่านและค่ายทหารหลายครั้ง ทำให้จะต้องมีหนังสืออนุญาตเข้า – ออกด้วย ทางชันมากๆ แวะพักรถจิบน้ำชาใส่นมแพะ ขนมคล้ายทอดมันเสริฟพร้อมกัน เดินทางต่อไม่นานก็ถึงทะเลสาบ ยังไม่ทันลงรถหมดก็มีฝูง Yak หรือจามรี มาล้อมรอบไม่ต่ำกว่า 20 ตัว จามรีที่นี่จะมีขนสีดำมันเงาวาวสลับขนสีขาว เขายาวสองข้างถูกสวมปลอกไหมพรมถักคงป้องกันการขวิด เสียค่านั่งคนละ 150 RS หรือแค่ขี่ถ่ายรูป 10 RS ทะเลสาบยามนี้ไม่เป็นน้ำแข็งแล้วแต่รอบๆ ถูกปลกคุมไปด้วยหิมะ น้ำใสมากจนมองเห็นตัวปลา อากาศเย็นมาจนบางคนไม่ขอลงจากรถ เดินเล่นถ่ายรูปจนกลับมาแวะกิน Momo ร้อนๆ ใส่ขิงด้วย แก้หนาวได้ดีจริงๆ หิมะตกลงมาอำลาพวกเราก่อนเดินทางกลับลงมา แวะน้ำตกสูงข้างทางเห็นมีน้ำแข็งไหลปนตกลงมากับน้ำด้วยคงจะเป็นน้ำที่ละลายจากหิมะ ถึงโรงแรมเกือบ 5 โมงเย็น แยกกันเข้าห้องโดยนัดไปเจอกันที่หน้าร้าน Momo เดิม เข้าไปเดินตลาดสด ของค่อนข้างแพง ตลาดเริ่มปิดตอน 2 ทุ่ม เลยเปลี่ยนไปเดิน Night market

คราวนี้ซื้อของได้หลายอย่าง มานั่งพักในร้านเบเกอรี ก่อนเดินต่อและกลับมาเข้านอนตอนเช้า ผิดแผนไปหน่อยเลยไม่ได้ไป Rumtek temple พวกเราไม่สามารถออกจากโรงแรมไม่ได้จนรถที่นัดไว้ไม่รอ พยายามโทร. ติดต่อ Baichung แต่ติดต่อไม่ได้เลยเดินเล่นก่อนกลับมาเก็บของแล้วไปหา Baichung อีกครั้ง เลื่อนไปอีกสองวัน 11 โมง พวกเราขึ้นรถเพื่อไป Yumthung คนขับเป็นไกด์ด้วยมีนามว่า Pema Nobu หน้าตาดี อายุประมาณ 20 ปี เส้นทางเริ่มชันเป็นลำดับ ยังคงพบเห็นกล้วยไม้ป่าอยู่บ่อย สลับกับธงสี 5 สี และธงสีขาวเป็นแถว ( 108 ธง สื่อถึงคนตาย 49 วัน) พวกเราขอให้ Pema จอดแวะน้ำตกใหญ่เพื่อถ่ายรูปเท่านั้นเพราะพวกเราผ่านน้ำตกเยอะมากๆ เช่น Mayang chu fall , Seven sister fall และ Phodong fall ก่อนที่จะมาแวะกินข้าวเที่ยงหลังบ่ายโมงแล้ว เมื่อกินข้าวเสร็จก็เดินเล่น แต่ไม่มีอะไรให้ดูเลย ทางหลังจากนี้เริ่มชันขึ้น บางช่วงต้องข้ามสะพานด้านล่างเป็นธารน้ำไหลสีมรกตซึ่งอยู่สูงต่างกันมากชวนหวาดเสียวทีเดียว ข้ามสะพานหลายครั้งจนมาถึงเมือง Mangan เมืองเล็กๆ ที่ไม่มีอะไรเลยเป็นแค่ที่พักรถเท่านั้น Pema ขับรถมาถึงจอดร้านน้ำชาข้างทางเล็กๆ ในเมือง Chungtung แวะพักดื่มชาและเข้าห้องน้ำ เพราะเหลือระยะทางอีกไม่ไกลแล้ว ที่นี่ได้พบห้องน้ำชาวบ้านจริงๆ ไม่มีหลุมให้หย่อนเหมือนที่อื่นๆ มีแค่แผ่นสังกะสีที่เอียงออกไปนอกผนังห้องน้ำที่มุงด้วยสังกะสีเช่นเดียวกัน คาดว่าคงใช้แรงโน้มถ่วงของโลกให้มันไหลออกไป และพบว่าของคนเข้าก่อนหน้ายังมีซากให้เห็นอยู่เนื่องจากมันไม่ไหลออกไป…..ถ้าไม่นับห้องน้ำโดยร่วมแล้วเมือง Chungtung นี้ก็สงบน่าอยู่เหมือนกัน กลับขึ้นรถอีกครั้ง Pema จะแวะน้ำตกใหญ่ก่อนถึง Lachung พวกเราสั่นหัวไม่ต้องแวะก็ได้เพราะวันนี้ทั้งวันพบแต่น้ำตกจนจำไม่ได้แล้วว่ากี่น้ำตก คงต้องบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ได้เที่ยวน้ำตกมากที่สุด การสั่นหัวก็เป็นอีกเรื่องที่ชวนให้นึกขำเพราะคนอินเดียจะไม่ใช้พยักหน้า แต่จะสั่นหัวแทน แปลว่า OK ตกลงครับท่าน กว่าจะรู้ก็เล่นเอาหัวโนไปหลายที เกือบ 5 โมงครึ่ง Pema พาพวกเราผ่านน้ำตก Bhim Fall ที่ใหญ่และแรงมาก แม้ยืนอยู่ไกลก็ยังได้รับละอองน้ำ ฝั่งตรงข้ามมองเห็นยอดเขาที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะจนขาวโพลน DA Galaxy resort เป็นที่พักของพวกเราใน Lachung เวลาล่วงเลยมาจนถึง 6 โมงเย็นแล้ว อากาศเย็นลงทุกที รู้สึกได้ว่าคืนนี้คงจะหนาวเย็นกว่าทุกที่แน่ๆ จากหน้า Resort มองเห็นน้ำตกสูงไหลลงมาจากยอดเขาอยู่เบื้องหน้า ไหลลงมารวมกับลำธารผ่านหมู่บ้านแห่งนี้ ทั้งๆ ที่เป็นหน้าร้อนแต่เทือกเขาเบื้องบนยังคงปกคลุมไปด้วยหิมะอยู่ เก็บของบนห้องแล้วออกไปเดินเล่นรอเวลาอาหารเย็น คนที่นี่กินข้าวเย็นกันตอน 2 ทุ่ม




Cont. ---> 2

Sikkim ...I love you (2) สิกขิม

Yumtang - Lachun


Lachung (chung = ที่ราบ) จึงเป็นเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ราบน้อยๆระหว่างขุนเขาที่โอบล้อม แทบจะเรียกได้ว่าหมู่บ้านดีกว่า มีลำธารสีมรกตไหลผ่านหล่อเลี้ยงทุกชีวิตที่อาศัยอยู่ สงบมากๆ ไม่มีรถราวิ่งมากนัก ทุกบ้านจะมีที่เก็บฟืนซึ่งคงเอาไว้ใช้ในฤดูหนาว อย่างที่กล่าวไว้แม้เป็นช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิก็ยังไม่ถึง 10 องศาเลย Pema บอกว่ามากว่า 6 เดือนที่ Lachung จะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะทำให้ทำการเกษตรไม่ได้ ดอกกุหลาบพันปีสีแดง สีชมพู และสีขาวชูช่อดอกแข่งกันอวดบรรดานักท่องเที่ยวที่มาเยือน เดินเลยไปจนถึงลำธารแล้วย้อนกลับเพราะได้เวลากินข้าวแล้ว มื้อนี้ฝีมือพ่อครัวหลายคนเลยมีหลายอย่าง ข้าวผัด ไข่ลูกเขย (เหมือนบ้านเราเลย) แกงกะหรี่ ที่ขาดไม่ได้คือไข่เจียว คืนนี้เผลอหลับไปใต้ผ้าห่มหนาเกือบ 3 นิ้ว แทบจะไม่มีอวัยวะส่วนใดโผล่พ้นออกมาเลยเช้าตื่นมารีบขึ้นไปบนดาดฟ้า โดยคาดว่าน่าจะเป็นจุดที่เห็นบรรยากาศของ Lachung ได้ดีที่สุดและทรมานที่สุดด้วยเช่นกัน โชคดีที่ทันแสงแดดแรกยามเช้าสีทองสาดส่องสะท้อนกับสีขาวของหิมะบนเทือกเขาตรงข้ามหมู่บ้าน เมืองทั้งเมืองเหมือนหยุดนิ่งมีเพียงแสงสีทองค่อยๆ เคลือบคลานเข้ามา เหนือคำบรรยายใดๆ แม้จะหนาวแทบขาดใจ นิ้วมือที่แข็งเพราะเย็นจนแทบจะหมดความรู้สึกแต่ก็ยังไม่ละไปจากปุ่มชัดเตอร์

กลับลงมากินอาหารเช้าก่อน 8 โมง เพราะ Pema เอารถมารับผ่านทุ่งกุหลาบพันปีต้นใหญ่นับร้อย สลับกับทุ่ง Primuna สีม่วง ตัดกับสีของหิมะเบื้องหลัง ยิ่งสูงขึ้นดูว่าเราใกล้กับยอดเขาหิมะเข้าไปทุกที จนมาจอดหน้าทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ระหว่างขุนเขาหิมะ Yumthung คือชื่อของที่นี่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เพราะอากาศหนาวมาก สายน้ำก็ไหลผ่านที่ผืนนี้ด้วย ดอก Primuna เริ่มแทงยอดดอกชูช่อสีม่วงให้เห็นบ้างแล้ว คงต้องรออีกสักสัปดาห์ทั้งทุ่งคงกลายเป็นสีม่วงสลับกับสีเขียวของหญ้า เราใช้เวลากับที่แห่งนี้เกือบ 2 ชั่วโมง ดื่มด่ำกับบรรกาศที่สวยงาม ขากลับมาแวะน้ำพุร้อน ที่มีการสร้างห้องปิดบ่อเอาไว้อีกที หลังจากกินข้าวเที่ยงที่รีสอร์ท ก็เก็บสัมภาระแล้วโบกมืออำลา Lachung ทั้งที่ยังไม่อยากจากมาเลย Pema มาแวะจอดหน้าบ้านทักทายกับแม่ที่ Pema บอกว่า Big size กลับมาถึง Gangtok เกือบ 6 โมงเย็น ให้ Pema ขับมาส่งโรงแรมใหม่ที่อยู่ใกล้ตลาด ถึงเวลาที่ต้องอำลาและขอบคุณ Pema ก่อนที่จะเดินขึ้นห้องพัก ลงมากินข้าวเย็นและเดินซื้อของฝากที่ได้เล็งเอาไว้เมื่อวันก่อนแล้ววันสุดท้ายใน Gangtok และสิกขิม เพราะจะเดินทางต่อไปยัง Dajeeling